Uncategorized, อ่านก่อน ชัวร์กว่า

การฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย

การฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองให้กลับมา
ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย

ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง (Subdural hemorrhage) เป็นการเกิดเลือดออกบริเวณใต้เยื่อหุ้มสมอง

ชั้นนอก (Dura mater) สาเหตุของภาวะนี้มักเกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือการกระทบกระเทือนที่ทำให้เส้น

เลือดในสมองแตก โดยอาการของภาวะนี้สามารถเกิดได้หลายรูปแบบ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว

ไม่สามารถควบคุมการเดิน รวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะสับสน สูญเสียความทรงจำ เหนื่อยง่าย และง่วง

ซึมภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง เป็นโรคทางระบบประสาทที่รุนแรง ต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วน โดย

ส่วนมากมักใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อลดความดันในกะโหลกและระบายเลือดที่คั่งใต้เยื่อหุ้มสมอง โดยที่ภาวะนี้มีความชุก

มากถึง 58 คน ใน 100,000 คน พบมากในประชากรที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป เมื่อได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด

แล้ว อาการปวดและเวียนศีรษะมักทุเลาลง แต่อาการสูญเสียการทรงตัวและความสามารถในการเดินยังคงอยู่

ผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน

ได้ดังเดิม

กรณีศึกษาผู้ป่วยที่แสนปิติ

ผู้ป่วยที่เป็นกรณีศึกษาของแสนปิติในบทความนี้มาด้วยการอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั่วลำตัว ไม่

สามารถทรงท่าได้ ควบคุมการใช้งานของแขนและขาทั้ง 2 ข้างไม่ได้ ไม่สามารถนั่งทรงตัวและควบคุมลำคอให้ตั้ง

ตรงได้ ยังคงมีอาการง่วงซึมมากหลังจากได้รับการผ่าตัด ซึ่งเป็นความท้าทายของนักกายภาพบำบัดที่ต้องใช้เทคนิค

การกระตุ้นรูปแบบต่างๆเพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการง่วงซึมสามารถทำกายภาพบำบัดตามคำบอกได้

แผนการรักษากายภาพบำบัดที่แสนปิติเลือกใช้

  • โปรแกรมออกกำลังกายพื้นฐานบนเตียง

    • เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและฝึกความสามารถในการเคลื่อนไหว
    • ฝึกการทรงตัวในท่านั่ง โดยเน้นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอและลำตัวด้านหน้า-หลัง
  • ฝึกลุกขึ้นยืนและการเดิน

    • เมื่อผู้ป่วยมีความมั่นใจในท่านั่งแล้ว จะเริ่มฝึกลุกขึ้นยืน
    • ใช้สัญญะกระตุ้นให้ผู้ป่วยตื่นตัวและใช้งานกล้ามเนื้อได้เต็มที่
    • ในสัปดาห์แรก ผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นยืนได้โดยมีความช่วยเหลือระดับปานกลาง และเริ่มเดินด้วยไม้เท้าสี่ขา
  • การวิเคราะห์และปรับปรุงการเดิน

    • ใช้วิธีการวิเคราะห์การเดินเพื่อลงรายละเอียดในแผนการรักษากล้ามเนื้อและข้อต่อ
    • หลังจากเข้ารับการรักษา 1 เดือน ผู้ป่วยสามารถเดินทรงตัวได้ด้วยตนเอง
    • ผลลัพธ์ที่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัยและมั่นคงในการเดิน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *