การแก้อาการกล้ามเนื้อหน้าและคางบิดเกร็งด้วย
การรักษาทางกายภาพบำบัด
อาการกล้ามเนื้อหน้าและคางบิดเกร็ง (Oromandibular dystonia) คืออาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่
เกิดขึ้นบริเวณใบหน้าส่วนล่างและคาง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเช่น คางเบี้ยว กรามค้าง ส่งผลให้ไม่
สามารถ ปิดปาก เปิดปาก ขยับเคลื่อนไหวกรามได้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ ความผิดปกติ
ของสมอง ผลข้างเคียงของการใช้ยา อุบัติเหตุและกรรมพันธุ์ มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะการทานอาหารและการสื่อสาร เนื่องจากอาการบิดเกร็งทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนอาหาร การ
เคี้ยวอาหาร การพูด เคลื่อนไหวผิดจากรูปแบบปกติ ในกรณีที่มีอาการเกร็งมาก อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด
บริเวณใบหน้าและลำคอได้
โอกาศและการเกิดโรค
อาการกล้ามเนื้อหน้าและคางบิดเกร็งนับเป็นหนึ่งในอาการหายาก ความชุกของโรคนี้พบได้เพียง 6.9
คนต่อประชากร 100,000 คนเท่านั้น โดยประชากรเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย 3 เท่า โดยอายุ
เฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้คือ 45-75 ปี
กรณีตัวอย่างที่ทางแสนปิติได้ทำการรักษา
กรณีตัวอย่างที่ทางแสนปิติได้ทำการรักษา ผู้ป่วยมาด้วยอาการอ้าปากค้าง ไม่สามารถปิดปากได้ ทำ
ให้เกิดอาการช่องปากแห้ง มีแผลในช่องปาก ไม่สามารถกลืนน้ำลาย ทานอาหาร สื่อสารลำบาก หลังจากนัก
กายภาพบำบัดตรวจร่างกาย พบอาการเกร็งตัวค้างของกล้ามเนื้อบริเวณคาง (Platysma muscle)
ส่งผลให้กระดูกกรามโดนดึงตัวลง ไม่สามารถปิดปากได้ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวั น
เช่น การทานอาหารและการพูดคุยได้อย่างปกติ จึงได้วางแผนการรักษาโดยมีเป้าหมายในการลดอาการเกร็งตัว
ของกล้ามเนื้อและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเป็นความสำคัญอันดับแรก
การรักษาอาการกล้ามเนื้อบิดเกร็งด้วยเทคนิค PNF
(Proprioceptive Neuromuscular Facilitation)
เทคนิค PNF (Proprioceptive Neuromuscular Facilitation) เป็นการรักษาทางกายภาพบำบัดที่
นิยมใช้เพื่อรักษาอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อหลายรูปแบบ โดยเฉพาะเมื่อต้องการรักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็ง
เพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว ในกรณีของผู้ป่วยรายนี้ นักกายภาพบำบัดได้เลือกใช้ 2 เทคนิค คือ Contract-
relax เป็นเทคนิคที่กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ต้องการรักษาโดยหวังผลการคลายตัวของกล้ามเนื้อใน
ภายหลัง และ Agonist contract-relax ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อฝั่งตรงข้ามโดยหวัง
ผลการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่กำลังทำการรักษาจุดสำคัญของการรักษานี้ คือการวางแนวแรงต้านที่ถูกต้องกับ
การหดตัวของกล้ามเนื้อคางและกล้ามเนื้อฝั่งตรงข้าม ซึ่งอาศัยความรู้ด้านกายวิภาคศาสต์และสรีรวิทยา
รวมทั้งประสบการณ์ของนักกายภาพบำบัด เพื่อเลือกจุดวางมือและระดับแรงต้านที่เหมาะสมบนใบหน้าและคางของผู้ป่วย
หากการวางแนวแรงต้านไม่เหมาะสม อาจทำให้การกระตุ้นกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
เนื่องจากข้อต่อกรามมีการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน สามารถขยับได้หลายทิศทาง นักกายภาพบำบัดจึงต้องออกแรงต้าน
ในทิศทางที่กล้ามเนื้อที่กำลังทำการรักษาสามารถยืดและหดตัวได้มากที่สุด
ผลการรักษาทางกายภาพบำบัด
จากผลการตรวจร่างกายแรกรับ ผู้ป่วยไม่สามารถปิดปากด้วยตนเอง ไม่สามารถสื่อสารเป็นคำพูดหรือ
ออกเสียง 1 พยางค์ได้เนื่องจากอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อคาง หลังจากทำการรักษาในครั้งแรก ผู้ป่วย
สามารถเคลื่อนไหวกรามได้มากขึ้น สามารถปิดปากได้เกินครึ่งหนึ่งขององศาการเคลื่อนไหวทั้งหมด เริ่มออก
เสียงคำ 1 พยางค์ได้แต่ยังไม่ชัดเจน หลังการรักษาติดต่อกัน 4 วัน ผู้ป่วยสามารถปิดปากได้สนิท สามารถออก
เสียงพยัญชนะที่ต้องใช้การปิดปากออกเสียง เช่น บ.ใบไม้ ป.ปลา ผ.ผึ้ง ม.ม้า ได้ชัดเจน มีอาการช่องปากแห้ง
ลดลง ส่งผลดีต่อการทานอาหารในชีวิตประจำวัน
References
Thompson PD, Obeso JA, Delgado G, Gallego J, Marsden CD. Focal dystonia of the jaw and
the differential diagnosis of unilateral jaw and masticatory spasm. Journal of
Neurology, Neurosurgery, and Psychiatry. Jun. 1986;49(6):651-656
Verma RK, Gupta BK, Kochar SK, Poonia A, Kochar DK. Meige’s syndrome. The Journal of the
Association of Physicians of India. Mar. 1993;41(3):173-174
Gray AR, Barker GR. Idiopathic blepharospasm-oromandibular dystonia syndrome (Meige’s
syndrome) presenting as chronic temporomandibular joint dislocation. The British
Journal of Oral & Maxillofacial Surgery. Apr. 1991;29(2):97-99
Bakke M, Larsen BM, Dalager T, Møller E. Oromandibular dystonia—Functional and clinical
characteristics: A report on 21 cases. Oral Surgery, Oral Medicine, Oral Pathology, Oral
Radiology. 2013;115(1):e21-e26
Bakke M, Møller E, Thomsen CE, Dalager T, Werdelin LM. Chewing in patients with severe
neurological impairment. Archives of Oral Biology. Apr. 2007;52(4):399-403
Evatt ML, Freeman A, Factor S. Adult-onset dystonia. Handbook of Clinical Neurology.
2011;100:481-511
Nutt JG, Muenter MD, Aronson A, Kurland LT, Melton LJ. Epidemiology of focal and
generalized dystonia in Rochester, Minnesota. Movement Disorders Journal.
1988;3(3):188-194
Adler, Susan S., Dominiek Beckers, and Math Buck. PNF in practice: an illustrated guide.
Springer Science & Business Media, 2007.
Hindle, Kayla, Tyler Whitcomb, Wyatt Briggs, and Junggi Hong. “Proprioceptive neuromuscular
facilitation (PNF): Its mechanisms and effects on range of motion and muscular
function.” Journal of human kinetics 31, no. 2012 (2012): 105-113Victoria, Gidu Diana, Ene-Voiculescu Carmen, Straton Alexandru, Oltean Antoanela, Cazan
Florin, and Duta Daniel. “THE PNF (PROPRIOCEPTIVE NEUROMUSCULAR FACILITATION)
STRETCHING TECHNIQUE-A BRIEF REVIEW.” Ovidius University Annals, Series Physical
Education & Sport/Science, Movement & Health 13 (2013).